เศรษฐกิจสมัยพัก จองฮี ของ ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน

เมื่อพัก จองฮีเถลิงอำนาจในปี ค.ศ. 1962 เกาหลีใต้จึงก้าวสู่การพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ในสมัยของเขามีการวางแผนสำหรับอนาคตและหาทางเลือกที่ก่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ รัฐบาลกำหนดนโยบายต่างๆ ออกมาเพื่อเร่งการพัฒนาประเทศเรียกว่าแผนพัฒนาห้าปี และด้วยนโยบายที่เน้นความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากและความพยายามขจัดปัญหาความยากจน รัฐบาลเกาหลีใต้ภายใต้การนำของพัก จองฮีใช้กลยุทธ์ที่สำคัญคือการมองออกไปข้างนอกหรือการมีสัมพันธ์กับตลาดโลก (Outward-Looking Strategy) แทนกลยุทธ์เน้นตนเองหรือมองแต่ตลาดภายใน (Inward-Looking Strategy)

กลยุทธ์มองไปข้างนอก (Outward-Looking Strategy) คือการมีความสัมพันธ์กับตลาดโลกในด้านการค้า มีการผลิดเพื่อขายในตลาดโลกแทนการผลิตเพื่ออุปโภคบริโภคในประเทศ และที่สำคัญคือเป็นการทำอุตสหกรรมที่ส่งเสริมการใช้แรงงาน (labour-intensive) ในขณะเดียวกันรัฐบาลลดกฎเกณฑ์และความเข้มงวดในการนำเข้าลดน้อยลง

โดยที่รัฐบาลภายใต้การนำพัก จองฮี ใช้นโยบายเน้นอุตสหกรรมการส่งออกแทนนโยบายอุตสหกรรมผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และไม่เน้นการพัฒนาเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ก็มีเหตุผลว่าพื้นที่ประเทศเกาหลีมีขนาดไม่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรและมีพื้นที่ทำการเกษตรเพียงร้อยละ 20 ของประเทศเท่านั้น อีกประการหนึ่งคือการได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศลดลง ทำให้เกาหลีใต้จำเป็นต้องเน้นอุตสหกรรมส่งออกเพื่อที่จะสร้างรายได้ให้กับประเทศ รัฐบาลเกาหลีในยุคนี้ได้ตระหนังถึงข้อจำกัดของประเทศโดยมีการวางแผนในระยะยาวให้กับประเทศ และมีการส่งคนเกาหลีไปดูงานและศึกษาความเป็นไปได้ยังประเทศอุตหกรรมในยุโรป นอกจากนี้ตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจก็รับการศึกษาอย่างละเอียดจากนักวิชาการเกาหลีด้วยเพื่อที่จะได้กำหนดแผนนโยบายการพัฒนาประเทศได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด[4]

ใกล้เคียง

ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน ปาฏิหาริย์แดนประหาร ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ปาฏิหาริย์ เดอะซีรีส์ ปาฏิหาริย์ร้านชำของคุณนามิยะ ปาฏิหาริย์เทวดาตัวบิ๊ก ปาฏิหาริย์สุดท้ายและความตายของนักบุญเซโนเบียส (บอตติเชลลี) ปาฏิหาริย์วิญญาณรักเหนือโลก ปาฏิหาริย์รัก สลับร่าง ปาฏิหาริย์ที่โบลเซนา (ราฟาเอล)